ปัจจุบัน Computer มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ค่อนข้างมาก เพราะ Computer เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่เรา คนทำงานจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ไม่ได้เสียแล้ว
ปัญหาเรื่องการปวดตา เป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในหมู่ผู้ใช้ Computer ทำงาน มีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า และสามารถเกิดได้ทุกวัย สำหรับสาเหตุนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่ตาไม่สามารถปรับโปกัสได้อย่างแม่นยำ อันเนื่องมาจากการที่อักษรบน Computer เกิดจากการผสมจากจุดเล็ก ๆ (พิกเซล) ทำให้ตาเกิดอาการเมื่อยล้าได้เร็วกว่าการมองวัตถุอย่างอื่น
ปัจจุบันมีการผลิตแว่นตาชนิดพิเศษสำหรับการใช้หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อตาไม่ต้องทำงานมากนัก แว่นตาเหล่านี้จะเคลือบสารเพื่อป้องกันแสงสะท้อน รวมทั้งมี UV400 ฟิลเตอร์ด้วย
ดังนั้น เราควรทำการป้องกันไว้ก่อน เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา
วิธีป้องกัน
1. นั่งในท่าที่เหมาะสม ห่างจากจอ Computer ประมาณ 20 - 30 นิ้ว
2. Screen Computer ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20 - 26 องศา
3. จัดเอกสารที่ต้องใช้ดูประกอบไว้ใกล้กับจอเครื่อง Computer จะได้ลดการส่ายศีรษะไปมามาก และลดการเปลี่ยนระยะการดูของตา ไม่ให้ระยะต่างกันมาก
4. ให้พักสายตาบ่อย ๆ อย่างน้อย 15 - 20 นาทีทุก 2 ชั่วโมง
5. จัดแสง และแสงสะท้อนจากจอให้ลดลงในระดับที่ตาเรารู้สึกสบาย
6. จอภาพ Computer ต้อง Focus ชัดเจน ตัวหนังสือ ภาพในจอให้ปรับให้ชัดเสมอ และควรปรับแสงของจอมอนิเตอร์ให้พอเหมาะ ใช้แผ่นกรองแสงช่วย หรือเลือกใช้จอแบน เพื่อลดการหักเหของแสง
7. มีงานวิจัยพบว่า ผู้ทำงานหน้าจอ Computer จะกระพริบตาน้อยกว่าปกติ ดังนั้นคุณอาจจะต้องตั้งใจกระพริบตาให้ถี่ขึ้น เพื่อช่วยให้ตาชุ่มชื้นขึ้น หรือใช้น้ำตาเทียมหยดเป็น
ครั้งคราว
8. ทุก 15 นาทีของการทำงาน อาจเหลือบไปมองสิ่งอื่น ๆ บ้าง โดยมองไปไกล ๆ การมองที่อื่น ๆ ช่วยเรื่องการปรับโฟกัส และช่วยให้กะพริบตาทำให้ตาชุ่มชื้นขึ้น
9. ผู้ที่มีอายุเกิน 40 และจำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรใช้แว่นอ่านหนังสือที่เหมาะสม และไม่ควรใช้แว่น 2 ชั้น หรือแว่นไม่มีชั้น จะทำให้ต้องเงยหน้าอ่านข้อความในจอตลอดเป็นเหตุให้ปวดต้นคอ
10. ตั้ง Computer ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้มีฝุ่นเกาะหน้าจอ และควรทำความสะอาดเสมอ
11. นำต้นกระบองเพชรเล็ก ๆ มาวางข้างคอมพิวเตอร์ จะช่วยดูดซับคลื่นแม่เหล็กได้
12. ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกเดินบ้างเพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)